สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ
บทพิสูจน์รัก “จักรพรรดินีมิชิโกะ” ซินเดอเรลล่าญี่ปุ่น ชีวิตในวังที่โรยด้วยขวากหนาม
รักหวานในสนามเทนนิส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรักที่แสนยาวนานจวบจนทุกวันนี้ของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น ดูเหมือนจะลงเอยแบบแฮ็ปปี้เอนดิ้งในสายตาของใครๆ ด้วยพระราชพิธีอภิเษกสมรสอันแสนงดงามและตราตรึงใจ หลังจากที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคความรักต่างๆ นานามาไม่น้อย แต่แท้จริงแล้ว ชีวิตจริงช่างแตกต่างจากในนิยายรัก เพราะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบไปตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ “มิชิโกะ โชดะ” (พระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ) ซึ่งเปรียบดั่งซินเดอเรลล่าแห่งแดนอาทิตย์อุทัย จากหญิงสามัญชนสู่เจ้าหญิง และพ่วงตำแหน่งว่าที่จักรพรรดินีในอนาคต อีกทั้งยังเป็นหญิงสามัญชนคนแรกของญี่ปุ่นที่ต้องพลิกชีวิตเข้าสู่รั้ววังหลวงที่เต็มไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีหลังการอภิเษกสมรส มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ และเจ้าหญิงมิชิโกะ ทรงย้ายเข้าไปประทับอยู่ที่พระราชวังโทงู ไม่มีใครรู้ว่าชีวิตในวังของเจ้าหญิงมิชิโกะต้องทรงพบเจอกับอะไร ยิ่งข่าวที่แพร่ออกมานอกรั้ววังเป็นระยะมีแต่เรื่องน่ายินดี เช่น หลังอภิเษกสมรสได้เพียงปีเดียว เจ้าหญิงก็ทรงสร้างความเบิกบานใจให้แก่ประชาชนด้วยการให้กำเนิดพระโอรสองค์แรก เจ้าชายนารุฮิโตะ (มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน ซึ่งจะทรงขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) ต่อด้วยเจ้าชายอากิชิโนะ และเจ้าหญิงซายาโกะ (ปัจจุบันคือ นางซายาโกะ คุโรดะ)หรือการที่มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระองค์นอกกรอบจารีตของวังหลวงด้วยการเลี้ยงพระโอรสเอง โดยไม่พึ่งข้าราชบริพาร ต่างจากเดิมที่ต้องแยกพระโอรสจากพระชนก พระชนนี เพื่อให้พระพี่เลี้ยงเป็นผู้ถวายการดูแล รวมทั้งการที่เจ้าหญิงทรงเลี้ยงพระโอรส-ธิดาด้วยพระเกษียรธารา (น้ำนม) ของพระองค์ ส่งพระโอรส-ธิดาเข้าศึกษาที่โรงเรียนแทนการจ้างครูมาสอนในวัง เรื่องราวเหล่านี้คือมิติของ ‘ญี่ปุ่นใหม่’ ที่ประชาชนต่างรู้สึกยินดีอย่างยิ่งเมื่อได้รับรู้และเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคตในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 แล้วมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะเสด็จฯขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ […]