แฟชั่น ความงาม ล่าสุด

คงไว้ซึ่งความงดงาม Meiji Scroll Tiara มงกุฎองค์แรกแห่งบัลลังก์ดอกเบญจมาศ

Meiji Scroll Tiara มงกุฎองค์แรกและยังเก่าแก่ที่สุดแห่งบัลลังก์เบญจมาศ แต่คงไว้ซึ่งความงดงาม แม้มีอายุนับร้อยปี สำหรับราชวงศ์ญี่ปุ่นแล้ว เราอาจะไม่ค่อยได้เห็น เครื่องถนิมพิมพาภรณ์  (เครื่องประดับ) ถูกพูดถึงกันบ่อยครั้ง โดยมากที่เห็นจะเป็นราชวงศ์อังกฤษซะส่วนใหญ่ แต่อันที่จริงบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ยังมีเครื่องประดับสำคัญประจำราชวงศ์ โดยเฉพาะเทียร่า ที่เรียกได้ว่าเป็นสมบัติล้ำค่าที่ทุกราชวงศ์ในโลกต้องมี สำหรับมงกุฎของราชวงศ์ญี่ปุ่นนั้น Meiji Scroll Tiara นับว่าเป็นองค์แรก และยังเก่าแก่มากที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ตามประวัติของเทียร่าองค์นี้ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 1885 (หรือหลังจากนั้น) เพื่อสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง (1849-1914) ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมเหสีของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ประวัติของเทียร่าองค์นี้ เรียกได้ว่าสำคัญกับราชวงศ์ญี่ปุ่นมากเลยทีเดียว เพราะเป็นมงกุฎสำหรับสมเด็จจักรพรรดินีโดยเฉพาะ เทียร่าองค์นี้นอกจากจะสวยงามและทรงคุณค่าแล้ว ยังมีความพิเศษคือเพชรรูปดาวที่ประดับด้านบนมงกุฎสามารถถอดออกได้ จึงทำให้มงกุฎองค์นี้มีสองรูปแบบในหนึ่งเดียว อีกทั้งยังได้ถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่นมาตั้งแต่สมัยเมจิ (สมเด็จพระจักรพรรดินีโชเก็ง พระพันปีหลวง) ไทโช (สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม) โชวะ (สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง) เฮเซ (สมเด็จพระจักพรรดินิมิชิโกะ) อย่างไรก็ตาม เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นเทียร่าองค์นี้บ่อยครั้งนัก เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วองค์จักรพรรดินีจะสวมใส่ในพิธีสำคัญๆ เท่านั้น เช่น พิธีราชาภิเษกและพิธีอภิเษกสมรส ทั้งนี้สมเด็จพระจักพรรดินิมิชิโกะ ทรงสวมเทียร่าองค์นี้สองครั้งคือ งานพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระจักพรรดิเฮเซ เมื่อปี 1990 […]

บทพิสูจน์รัก “จักรพรรดินีมิชิโกะ” ซินเดอเรลล่าญี่ปุ่น ชีวิตในวังที่โรยด้วยขวากหนาม

รักหวานในสนามเทนนิส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรักที่แสนยาวนานจวบจนทุกวันนี้ของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น ดูเหมือนจะลงเอยแบบแฮ็ปปี้เอนดิ้งในสายตาของใครๆ ด้วยพระราชพิธีอภิเษกสมรสอันแสนงดงามและตราตรึงใจ หลังจากที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคความรักต่างๆ นานามาไม่น้อย แต่แท้จริงแล้ว ชีวิตจริงช่างแตกต่างจากในนิยายรัก เพราะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบไปตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ “มิชิโกะ โชดะ” (พระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ) ซึ่งเปรียบดั่งซินเดอเรลล่าแห่งแดนอาทิตย์อุทัย จากหญิงสามัญชนสู่เจ้าหญิง และพ่วงตำแหน่งว่าที่จักรพรรดินีในอนาคต อีกทั้งยังเป็นหญิงสามัญชนคนแรกของญี่ปุ่นที่ต้องพลิกชีวิตเข้าสู่รั้ววังหลวงที่เต็มไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีหลังการอภิเษกสมรส มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ และเจ้าหญิงมิชิโกะ ทรงย้ายเข้าไปประทับอยู่ที่พระราชวังโทงู ไม่มีใครรู้ว่าชีวิตในวังของเจ้าหญิงมิชิโกะต้องทรงพบเจอกับอะไร ยิ่งข่าวที่แพร่ออกมานอกรั้ววังเป็นระยะมีแต่เรื่องน่ายินดี เช่น หลังอภิเษกสมรสได้เพียงปีเดียว เจ้าหญิงก็ทรงสร้างความเบิกบานใจให้แก่ประชาชนด้วยการให้กำเนิดพระโอรสองค์แรก เจ้าชายนารุฮิโตะ (มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน ซึ่งจะทรงขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) ต่อด้วยเจ้าชายอากิชิโนะ และเจ้าหญิงซายาโกะ (ปัจจุบันคือ นางซายาโกะ คุโรดะ)หรือการที่มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระองค์นอกกรอบจารีตของวังหลวงด้วยการเลี้ยงพระโอรสเอง โดยไม่พึ่งข้าราชบริพาร ต่างจากเดิมที่ต้องแยกพระโอรสจากพระชนก พระชนนี เพื่อให้พระพี่เลี้ยงเป็นผู้ถวายการดูแล รวมทั้งการที่เจ้าหญิงทรงเลี้ยงพระโอรส-ธิดาด้วยพระเกษียรธารา (น้ำนม) ของพระองค์  ส่งพระโอรส-ธิดาเข้าศึกษาที่โรงเรียนแทนการจ้างครูมาสอนในวัง เรื่องราวเหล่านี้คือมิติของ ‘ญี่ปุ่นใหม่’ ที่ประชาชนต่างรู้สึกยินดีอย่างยิ่งเมื่อได้รับรู้และเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคตในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 แล้วมกุฎราชกุมารอากิฮิโตะเสด็จฯขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ […]

keyboard_arrow_up