วันคล้ายวันพระราชสมภพ
สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯปล่อยพันธุ์ปลาไทย ในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ
วันนี้ (2 เมษายน 2562) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2562 ฉลองพระชนมายุ 64 พรรษา ณ ท่าวาสุกรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคุณพลอยไพลิน เจนเซน และคุณสิริกิติยา เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ตามเสด็จ ในการนี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงฉลองพระองค์สีม่วงแบบเรียบง่ายแต่งดงาม ซึ่งสีม่วงนับเป็นสีประจำพระองค์ตามวันเสด็จพระราชสมภพ นั่นคือวันเสาร์ รวมถึงคุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา ที่แต่งกายด้วยชุดสีม่วงด้วยเช่นกัน สำหรับในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพปีนี้ ทางกรมประมงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพันธุ์ปลาไทย จำนวน 9 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลายี่สกไทย ปลาแก้มช้ำ ปลาสร้อยขาว ปลากระแห ปลาชะโอน ปลาโพง และปลาบึก รวมจำนวน 590,000 ตัว ภาพ : mgronline.com
พระจริยวัตรงดงามตลอด 64 พรรษา เรื่องราวจาก “ทูลกระหม่อมน้อย” สู่ “สมเด็จพระเทพรัตนฯ”
พระจริยวัตรงดงามตลอด 64 พรรษา เรื่องราวจาก “ทูลกระหม่อมน้อย” สู่ “สมเด็จพระเทพรัตนฯ”… เป็นที่ทราบกันดีว่า วันนี้ หรือ วันที่ 2 เมษายน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งนับเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงได้รับการถวายพระประสูติกาลโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” ซึ่งแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพารเรียกทั่วไปว่า “ทูลกระหม่อมน้อย” สำหรับพระนาม “สิรินธร” นั้น นำมาจากสร้อยพระนามของ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ส่วนสร้อยพระนาม “กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” […]
83 พรรษา สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ สามัญชนคนแรกที่ได้เป็นควีนแห่งประเทศญี่ปุ่น
วันนี้ (20 ต.ค.60) ถือเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่น ซึ่งปีนี้ทรงเจริญพระชนมายุ 83 พรรษา (เสด็จพระราชสมภพ 20 ตุลาคม พ.ศ.2477) ซึ่งในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อิมพิเรียล สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ทรงถือเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่อภิเษกสมรสกับพระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่น ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ จึงเข้าสู่ตำแหน่งเจ้าหญิงมกุฎราชกุมารี ครั้นสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะสวรรคต มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะจึงสืบราชสมบัติเป็นจักรพรรดิ และมกุฎราชกุมารีมิชิโกะจึงดำรงพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดินี ตามลำดับ โดยจัดพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ณ พระราชวังโตเกียว พระองค์มีพระนามเดิมว่า “มิชิโกะ โชดะ” เป็นบุตรสาวคนโตของฮิเดะซะบุโร โชดะ กับฟุมิโกะ โซะเอะจิมะ บิดาเป็นประธานและประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทนิชชิน พระองค์เติบโตในโตเกียวโดยได้รับการปลูกฝังด้านการศึกษาจากครอบครัวทั้งแบบดั้งเดิมและตะวันตก มีการเรียนภาษาอังกฤษและเปียโน ทรงเรียนรู้ในศิลปะด้านงานเขียน การทำอาหาร และโคโด (ศิลปะการใช้เครื่องหอม) เรียกได้ว่ามีพระปรีชาสามารถหลากหลายด้าน อีกทั้ง พระองค์เป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นด้วยมีพระจริยวัตรที่งดงาม ทรงใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการบำเพ็ญเพียรทางศาสนาร่วมกับพระราชสวามี อาทิ ทรงสักการะศาลเจ้าอิเซะและศาลเจ้าชินโตอื่น ๆ รวมทั้งการสวดภาวนาภายในสุสานหลวงเพื่ออุทิศพระราชกุศลแด่บูรพมหากษัตริย์และสมาชิกในราชวงศ์ที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งยังเป็นนักเปียโนหญิงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง หลายปีที่ผ่านมาทั้งสองพระองค์จะทรงเยี่ยมชมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ ข้อมูล : wikipedia รูปภาพจาก FB : Royal World Thailand